มีใครเป็นเหมือนกันบ้างไหม? เมื่อโดนถามว่า อยากทำอะไร หรือ ชอบอะไร แล้วเราตอบไม่ได้ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าชีวิตนี้เราจะเอาดีทางด้านไหน แต่พอเราโตขึ้น ได้เรียนรู้โน่นนี่นั่นมากขึ้น ได้ลองทำอะไรหลายอย่าง เราก็ยังตอบคำถามนั้นไม่ได้อยู่ดี
Category: Longdo Dict
“ทิพย์” ศัพท์โซเชียลสุดฮิต ทำไมต้องเติมทิพย์ต่อท้ายคำ?
คำว่า “ทิพย์” กลายเป็นอีกหนึ่งคำสุดฮิตที่เรียกว่าใช้กันบ่อยและแพร่หลายมากๆ เราจะเห็นว่า คำว่าทิพย์ถูกนำไปต่อท้ายคำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เที่ยวทิพย์ สามีทิพย์ เงินทิพย์ และอีกหลายๆ คำ เราเชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะสงสัยถึงที่มาที่ไปว่าคำนี้ฮิตได้อย่างไร
เรียนรู้คำศัพท์ “Save” จากแคมเปญดัง Save Ralph
หนังสั้นเรื่อง Save Ralph กลายเป็นชื่อที่เป็นกระแสไวรัลเพียงชั่วข้ามคืน เมื่อโลกออนไลน์ต่างพากันพูดถึงผ่านแฮชแท็ก #SaveRalph จนติดเทรนด์ทวิตเตอร์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ Save Ralph เป็นแคมเปญที่รณรงค์ให้เลิกใช้เครื่องสำอางที่ทดลองกับสัตว์ แม้ถูกนำเสนอออกมาเป็นเล่าเรื่องราวของกระต่ายทดลองเพียงสั้นๆ แต่ก็สามารถสะท้อนความโหดร้ายและเบื้องหลังการทารุณกรรมสัตว์ของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ความงามได้อย่างบีบหัวใจมากๆ โดยในความเป็นจริงกระต่ายเหล่านี้จะถูกทดลองจนเสียชีวิต ร่างกายพิการ และอาจถูกนำไปฆ่าทิ้ง นั่นจึงเป็นที่มาของประเด็นไวรัลทั้งในต่างประเทศไป จนเกิดกระแส “Save Ralph Rabbit” ผู้เป็นตัวแทนของสัตว์ทดลอง ให้รอดพ้นจากการถูกทารุณกรรม สิ่งที่น่าสนใจคือ ในโลกโซเชียลมีการติด แฮชแท็ก #SaveRalph และแฮชแท็ก #safeRalph หลายคนอาจจะสงสัยว่า save กับ safe มันใช้แตกต่างกันยังไง อันไหนถูกต้อง วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะ Save เป็น Verb…
เปิดวาร์ปเที่ยวทิพย์ด้วย “Drive and Listen”
ช่วงนี้หลายคนอาจจะเหงาๆ คิดถึงการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศ ถึงแม้จะมีเงิน แต่เราทุกคนรู้ดีว่าตอนนี้เรายังทำอะไรแบบนั้นกันไม่ได้ ประเทศยังไม่เปิดให้คนเข้าออก และยังต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค Covid-19 เพื่อสุขภาพของเราเอง แต่เทคโนโลยีทำให้เราสามารถเที่ยวทิพย์ได้ด้วย Drive and Listen Drive and Listen เป็น Virtual Tour ที่มาเปิดวาร์ปพาทุกคนไปเที่ยวให้หนำใจ ไม่ต้องออกจากบ้าน ไม่ต้องซื้อตั๋วเครื่องบิน แค่นั่งอยู่บ้านก็ขับรถเที่ยวเมืองต่างๆ ได้ทั่วโลก พร้อมกับฟังเพลงโปรดของคุณ Drive and Listen จะให้เรารับบทเป็นคนขับรถที่กำลังขับรถอยู่บนถนนตามเมืองใหญ่ๆ ของประเทศมากมายไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลี สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ตุรกี สเปน…
คำฮิตติดโซเชียล: ปลดล็อกสกินทอง คืออะไร ทำไมใครๆ ก็พูดถึง
ช่วงนี้เราจะเห็นคนใช้ Meme ปลดล็อกสกินทอง กันเยอะมาก ตามโซเชียลมีเดียทั้งใน Facebook และ Twitter คำว่า ปลดล็อกสกินทอง ที่หลายๆ เพจหรือเพื่อนหลายๆ คนเอามาเล่นเป็นมุกกันอย่างสนุกสนาน เรามั่นใจว่ายังมีอีกหลายๆ คนที่อาจจะยังไม่เข้าใจว่ามุก ปลดล็อกสกินทอง นั้นมาจากไหน และมีความหมายว่าอะไร เรามาดูไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ ปลดล็อกสกินทอง นั้นมีที่มา จากโลกของการเล่นเกม นั่นเอง สำหรับในกลุ่มเกมเมอร์แล้วเจ้าสกินทองนี้มันไม่ได้แปลกใหม่อะไร เราจะสรุปกันง่าย ๆ ที่เห็นได้อย่างชัดเจนก็คือ พวกไอเทมต่างๆ ของเกม จะมีหลายระดับซึ่งแต่ละระดับจะมีสีที่แตกต่างกัน ไล่ไปตั้งแต่…
Word of the day: RSVP แปลว่าอะไร มาจากไหน
เคยสังเกตกันรึป่าวว่า เวลาเราได้รับบัตรเชิญเพื่อไปเป็นแขกร่วมในงานต่างๆ เราเองก็คุ้นเคยกับบัตรเชิญกันดีอยู่แล้ว แต่ว่า บางครั้งเราจะได้บัตรอีกใบนึงพ่วงมาด้วย นั่นก็คือบัตรที่เขียนว่า “RSVP” หลายๆ คนอาจจะเคยเห็นคุ้นหน้าคุ้นตาคำนี้กันมาบ้างแต่อาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว RSVP มันคืออะไรกันแน่ วันนี้เราจะพาพวกคุณไปรู้จักว่ามันคืออะไร RSVP คำนี้เป็นตัวย่อที่เราเห็นกันบ่อยๆ ตามบัตรเชิญต่าง ๆ มาจากภาษาฝรั่งเศสคือ “Répondez s’il vous plaît” (ออกเสียงว่า “เรปงเด้ ซิลวูเปล”) ถ้าแปลเป็นภาษาอังกฤษก็คือ “Please Reply” หรือ “Please Respond” ซึ่งแปลว่า กรุณาตอบกลับด้วยนั่นเอง…
Word of the day: Clawback แปลว่าอะไร มาจากไหน
Clawback คืออะไร มาทำความรู้จักศัพท์คำนี้กันค่ะ โดยทั่วๆ ไปแล้ว Clawback ถ้าแปลตรงตัวเลยจะมีความหมายว่า กรงเล็บ แต่คำนี้ยังถูกนำไปใช้ในภาคการเงิน ย้อนกลับไปในปี 2007-2008 เป็นช่วงที่บริษัทประกันยักษ์ใหญ่อย่าง AIG เกิดวิกฤตการเงินอย่างรุนแรงขาดทุนถึง 62 พันล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ 4ใน ปี 2008 แต่ยังโชคดีที่ได้เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลหลายพันล้าน จึงทำให้สามารถจ่ายโบนัสให้แก่ผู้บริหารและพนักงานเป็นเงินถึง 165 ล้านดอลลาร์ จากเหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม โดยมีการตั้งคำถามที่ว่า หลังจากที่บริหารบริษัทล้มเหลว ผู้บริหารเหล่านั้นสมควรที่จะได้รับโบนัสอยู่หรือไม่? ท่ามกลางเสียงโห่ร้องของสาธารณชน สุดท้ายผู้บริหารระดับสูงของ AIG ยอมคืนเงินโบนัส การเรียกคืนเงินโบนัสนี้เราเรียกว่า…
Cancel culture วัฒนธรรมแห่งการ “แบน”
การเลิกสนับสนุนดาราหรือคนดัง เลิกบริโภคสินค้าจากบางแบรนด์เพราะความเห็นของเค้าไม่ตรงกับเรา หรือเพราะเค้าออกมาสนับสนุนบางสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเชิงคำพูด พฤติกรรม ทัศนคติ หรือการแสดงความคิดเห็นต่างๆ ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย เราเรียกพฤติกรรมเหล่านี้ ว่า Cancel culture พูดง่ายๆ Cancel culture ก็คือ การแบนหรือการคว่ำบาตรทางออนไลน์ หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า การขยายตัวของโลกโซเชียลมีเดีย ทำให้ผู้บริโภคมีอำนาจในมือ ทุกๆ ความเห็น ทุกๆ คำพูดที่หลุดปากออกไป กลายมาเป็นประเด็นดราม่าได้เสมอ ทั้งๆ ที่คนๆ นั้นอาจจะไม่ได้มีส่วนรับผิดชอบโดยตรงกับปัญหาทางสังคมที่เกิดขึ้น เช่น เรื่องแนวคิดทางการเมือง, เพศสภาพ หรือแค่แสดงความคิดผิดฝั่ง ก็ถูกอีกฝ่ายแบนได้ง่ายๆ…
Surfskate vs Skateboard ไม่เหมือนกันนะ
กีฬาที่ฮิตเป็นกระแสนิยมสุด ๆ ในปัจจุบันคงหนีไม่พ้น Surfskate เราจะเห็นรูปหรือคลิปวิดีโอของเพื่อนหรือเหล่าดารา เซเลปออกมาไถบอร์ดกันว่อนโซเชียลมีเดีย สาเหตุที่มันเป็นกระแสนิยมก็เพราะว่าช่วงโควิดที่ผ่านมาคนกักตัวอยู่ที่บ้านต้องหากิจกรรมทำประกอบกับคนดังออกมาเล่นมันเลยกลายเป็นกระแสไวรัล จึงมีคนหันมาให้ความสนใจและอยากลองเล่นกันมากขึ้น ถ้ามองเผินๆ ด้วยรูปร่างที่คล้ายกับ Skateboard ทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า เจ้ากีฬาบอร์ดทั้งสองชนิดนี้ต่างกันอย่างไร มาทำความรู้จักไอ้เจ้าเซิร์ฟสเก็ต กันที่นี่เลย เซิร์ฟสเก็ต เปรียบเหมือนการเล่นสเก็ตบอร์ดเวอร์ชั่นที่ผสมกับเซิร์ฟบอร์ดหรือกีฬาโต้คลื่นทางน้ำ เพียงแต่เปลี่ยนจากโต้คลื่นในน้ำมาเป็นโต้คลื่นบนบกนั่นเองค่ะ จุดต่างระหว่างเซิร์ฟสเก็ตกับสเก็ตบอร์ด คือ ฐานล้อ: ฐานล้อของสเก็ตบอร์ดจะหมุนไม่ได้ ส่วนฐานล้อของเซิร์ฟสเก็ตจะมีองศาที่หมุนได้ซึ่งจะหมุนได้มากได้น้อยขึ้นอยู่กับรุ่นของเซิร์ฟสเก็ต การที่ฐานล้อหมุนได้ทำให้ควบคุมทิศทางได้ง่ายกว่าสเก็ตบอร์ด การเคลื่อนที่: เซิร์ฟสเก็ตจะเคลื่อนที่โดยจะอาศัยการปั๊ม คือใช้ไหล่ แขน ลำตัว ขา พูดง่ายๆ คือ เหวี่ยงและย่อยืด…
เทคนิคด่าเป็นภาษาอังกฤษยังไงให้ดูผู้ดี๊ผู้ดี
” …เมื่อพูดไปแล้ว…คำพูดเป็นนายเรา…” การเลือกใช้คำพูดเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสิ่งที่เราพูดออกไป เราไม่อาจจะย้อนเวลากลับไปแก้ไขหรือขอคืนได้ บ่อยครั้งเวลามีเรื่องอะไรที่ไม่ถูกไม่ควร เราจำเป็นต้องแสดงความเห็นตามความจริง แต่ขณะเดียวกันก็ไม่อยากจะใช้คำที่ตรงหรือแรงจนเกินไป วันนี้เราเลยจะมาแนะนำเทคนิคง่ายๆ ที่จะช่วยเปลี่ยนประโยคตรงๆ แรงๆ ให้ฟังดูนุ่มนวลขึ้น แต่ยังคงความหมายโดยนัยเหมือนเดิม เทคนิคหนึ่งขอแนะนำในบทความนี้ คือ โดยใช้โครงสร้าง not + very + คำตรงข้าม การใช้เทคนิคนี้จะทำให้ประโยคดูนุ่มนวล น่าฟังขึ้น มาลองดูตัวอย่างกันค่ะ เจนถามมิ้นต์ว่าเดวิดแฟนของเธอเตี้ยมั้ย? มิ้นต์อาจจะตอบไปตรงๆ ว่า David is short. เดวิดเตี้ย อาจจะเป็นการไปด่าว่าแฟนเพื่อนเตี้ยอีก…