Skip to content

Life at Longdo

Live and learn, and share what you've learned.

Menu
  • Home
  • Log in
Menu

3 วลีน่าสนใจเกี่ยวกับเดือนมีนาคม

Posted on 2021-03-11 by Supanan Anansuviroj

เดือนมีนาคมเป็นเดือนแห่งอะไรหลายๆ อย่าง ไม่ว่าจะ International Women’s Day หรือ St. Patrick’s Day รวมไปถึงเป็นการเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิ แต่นอกเหนือจากนั้นแล้วเดือนนี้ยังเป็นต้นกำเนิดของวลีต่างๆ ที่เราจะมาแนะนำกัน

March madness

วลีนี้เป็นการกล่าวถึงการแข่งขันบาสเกตบอลตั้งแต่สมัย ค.ศ. 1908 แต่ก่อนหน้านั้นเดือน March มีความเกี่ยวข้องกับคำว่า madness ที่ต่างออกไป

เมื่อประมาณต้นปี ค.ศ. 1900 คนเริ่มใช้วลี March madness เพื่อที่จะพูดถึง “ประเภทของความบ้าคลั่งหรือนิสัยที่แตกต่างจากปกติที่เกิดกับผู้คนในเดือนมีนาคม” (อ้างจาก Oxford English Dictionary) ซึ่งอาจเป็นผลมาจากสภาพอากาศของฤดูนี้ที่แปรปรวนเอาแน่เอานอนไม่ได้ รวมไปถึงความเป็นไปได้ของการเกี่ยวข้องกับกระต่ายป่า

โดยความหมายของ March madness ในยุคนั้นเกิดมาจากคำว่า mad ที่แปลว่า “abnormally furious” หรือ โกรธจัดแบบผิดปกติ แต่ในปัจจุบัน คำว่า mad ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันจะแปลว่า “angry” ส่วนในภาษาอังกฤษแบบบริติชจะแปลว่า “crazy” ซึ่งก็สอดคล้องกับที่มาของชื่อเรียก March Madness ของการแข่งขันบาสเกตบอล ที่จัดขึ้นโดย NCAA เพราะมันทั้งก่อให้เกิดความโมโหและความบ้าคลั่งในผู้คน

Ides of March

วันที่ 15 มีนาคม หรือ ides of March เป็นวันที่ทุกคนเชื่อว่าเป็นวันแห่งรางร้าย แต่ทำไมต้องวันที่ 15? และทำไมต้องมีเรื่องร้ายเกิดขึ้น?

เมื่อปีก่อนคริสต์ศักราช มีการใช้ kalends, nones และ ides เป็นตัวบ่งบอกวันตามปฏิทินของโรมันโบราณ โดย kalends จะนับเป็นวันที่ 1 ของเดือน ส่วน nones จะเป็นวันที่ 5, 7, หรือ 9 ก่อน ides ซึ่ง ides คือวันที่ 15 ของเดือนมีนาคม พฤษภาคม กรกฎาคม และ ตุลาคม และเป็นวันที่ 13 ของเดือนที่เหลือ

ในส่วนของลางร้ายนั้นมาจากการที่ Julius Caesar ถูกลอบสังหารโดยการสมคบคิดกันของวุฒิสมาชิกเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 44 ปีก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1599 Shakespeare ได้แต่งบทละครในชื่อเดียวกัน โดยในเรื่องนักพยากรณ์ได้เตือน Julius Caesar ไว้ว่า “Beware the ides of March” หรือ “โปรดระวังวันที่ 15 มีนาคมเอาไว้” 

In like a lion, out like a lamb

สำนวน in like a lion, out like a lamb เป็นสิ่งที่เล่าต่อๆ กันมา โดยคนสมัยก่อนเชื่อว่ามันมีความสมดุลระหว่างสภาพอากาศและชีวิต ดังนั้นถ้าเราเริ่มต้นเดือนด้วยสิ่งแย่ๆ (คำรามเหมือนสิงโต) มันควรจะจบด้วยความสงบสุข (เชื่องเหมือนแกะ)

เดือนมีนาคมเป็นเดือนแห่งการเปลี่ยนแปลง เราจะได้เห็นทั้งสภาพอากาศที่อบอุ่นแบบฤดูใบไม้ผลิและพายุหิมะจากฤดูหนาว

พวกเขาก็ได้แต่หวังว่า ถ้าต้นเดือนมีนาคมเริ่มมาด้วยอากาศที่พายุหิมะหนาวเย็นมันจะจบด้วยความสงบและอบอุ่น ซึ่งสิ่งที่เป็นใจความสำคัญก็คือความหวัง

อ้างอิง: https://www.dictionary.com/e/march-madness/ 
https://www.dictionary.com/e/ides-of-march/
https://www.history.com/news/beware-the-ides-of-march-but-why 
https://www.farmersalmanac.com/the-truth-behind-in-like-a-lion-out-like-a-lamb-2867

  • ขอบคุณทุกคนที่อ่านน้า ถ้ามีข้อคิดเห็นหรือข้อแนะนำอะไร ติดต่อมาได้ที่นี่เล้ย labs@longdo.com 
  • นอกจากเรื่องนี้แล้ว เรายังมีเรื่องอื่นของสัปดาห์นี้อีกนะ
  • ยังไม่พอใช่ไหม? ไปดูคอนเทนต์รายสัปดาห์อื่นๆ ของเรากันที่นี่สิ ?
Post Views: 699

Related posts:

  1. คำศัพท์ที่ถูกค้นหามากที่สุดภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา
  2. 5 พอดแคสต์ไว้สำหรับอัพสกิลภาษาอังกฤษ
  3. 10 พอดแคสต์ไทยที่เราอยากชวนไปฟัง
  4. Word of the day: mansplaining แปลว่าอะไร มาจากไหน

Recent Posts

  • Stealth Wealth หรือ Quiet Luxury รวยแบบไม่ตะโกน เทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรง
  • Bangkok Top 13 Pizzas : ร้านพิซซ่าเจ้าเด็ดในกรุงเทพฯ ที่ต้องลอง
  • Bangkok Top Burgers : แนะนำ 10+1 ร้านเบอร์เกอร์ในกรุงเทพฯ ที่อร่อยจนต้องยอมอ้วน
  • ชิมอาหารอินเดียสไตล์ชายฝั่งภาคใต้ ที่ JHOL Coastal Indian Cuisine
  • El Willy ร้านอาหารสเปนสุดฮ็อต เจ้าของสโลแกน Happy Spanish Kitchen

Recent Comments

    Archives

    • May 2023
    • April 2023
    • March 2023
    • August 2022
    • May 2022
    • January 2022
    • May 2021
    • April 2021
    • March 2021
    • February 2021
    • January 2021
    • December 2020
    • October 2020
    • March 2020

    Categories

    • englishwecan
    • From Editor
    • Interview
    • Longdo Dict
    • Longdo Labs
    • Review
    • ท่องเที่ยว
    • ทั่วไป
    • พูดอังกฤษเต็มปากเต็มคำ
    • เดินทาง
    • แปลเพลง
    • ไม่มีหมวดหมู่
    • ไลฟ์สไตล์และแฟชั่น

    Meta

    • Log in
    • Entries feed
    • Comments feed
    • WordPress.org
    ©2025 Life at Longdo | Design: Newspaperly WordPress Theme